1. คงเป็นการยากที่จะให้ระบุ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) ที่แน่ชัด เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. ขนาดคละ ขนาดโตสุดของมวลรวม
2. อัตราส่วนของมวลรวมละเอียดต่อมวลรวมหยาบ
3. รูปร่างและลักษณะผิวของหิน
4. ปริมาณการดูดซึมน้ำของหินทราย
5. ประเภทของน้ำยาผสมคอนกรีตที่ใช้ในส่วนผสม
6. คุณภาพของซีเมนต์ที่ใช้
ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ส่งผลกับอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (W/C) โดยเฉพาะ หิน-ทราย ต่างพื้นที่คุณสมบัติแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบและการทดลองส่วนเพื่อหาค่าความสัมพันธ์กำลังอัดกับอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ โดยผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของคอนกรีตสด ดังนี้
-
มีความข้นเหลวเพียงพอกับความสามารถเทได้ ไหลลื่นเข้าแบบเต็มทุกสัดส่วนของแบบ
-
ต้องสามารถอัดแน่นในแบบหล่อได้อย่างดี
-
ต้องไม่แยกตัวระหว่างการขนย้ายและการเท
-
ประเภทของโครงสร้างที่จะใช้งาน
2. สารกักกระจายฟองอากาศจะใช้สำหรับงานที่ต้องการความต้านทานการแข็งตัวของน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง เช่นงานห้องเย็น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถเทได้ของคอนกรีต ลดการเยิ้มการแยกตัวและยังเพิ่มความทึบน้ำ การใช้งานสารกักกระจายฟองอากาศ โดยทั่วไปการใส่สารกักกระจายฟองอากาศจะสามารถลดน้ำผสมคอนกรีตได้ แต่ปริมาณฟองอากาศที่เพิ่มขึ้นก็มีผลทำให้กำลังอัดคอนกรีตลดลง ดังนั้นส่วนผสมคอนกรีตต้องออกแบบชดเชยกำลังอัดที่สูญเสียนี้ด้วย
ศูนย์วิชาการคอนกรีต