การตรวจสอบคุณภาพคอนกรีตในโครงสร้างโดยวิธีการเจาะแก่น (Core Test) มีมาตรฐานในการทดสอบอย่างไรและมีเกณฑ์ประเมินคุณภาพคอนกรีตที่เจาะมาทดสอบอย่างไร

ตอบ   ในการทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตโดยการเจาะแก่นของคอนกรีต (Core Test) จะยึดตามมาตรฐานตาม ASTM C 42/C 42M - 03 " Standard Test Method for Obtaining and Testing Drilled Cores and Sawed Beams of Concrete " โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้


ตัวอย่างที่จะนำมาทดสอบ
โครงสร้างคอนกรีตที่จะทำการเจาะต้องมีความแข็งแรงที่เพียงพอ โดยทั่วไปควรมีอายุอย่างน้อย 14 วัน
ทำการเจาะก้อนตัวอย่าง อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง จากบริเวณที่ต้องการตรวจสอบ
ก้อนตัวอย่างที่จะนำไปทดสอบกำลังอัดได้นั้น   จะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 95 มม. และมีอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง (L/D) ระหว่าง 1.00 - 2.00 โดยจะต้องมีค่าปรับแก้กำลังอัดที่ทดสอบได้ กรณีที่ L/D มีค่าต่ำกว่า 1.75 ดังนี้

Ratio of Length to Diameter (L/D)

Strength Correction Factor 

 1.75

 0.98

 1.50

 0.96

 1.25

 0.93

 1.00

 0.87

   ถ้าอัตราส่วนความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่ตรงตามตารางให้เทียบอัตราส่วนตามตารางข้างบน 

 

สภาพตัวอย่างที่ทดสอบ
ACI 318-99 กำหนดได้กำหนดไว้ว่า โครงสร้างคอนกรีตมีสภาพแห้งการใช้งานจริง จะต้องผึ่งก้อนตัวอย่างให้แห้งเป็นเวลา 7 วันก่อนการทดสอบ และทดสอบในสภาพแห้ง 
   แต่ถ้าโครงสร้างคอนกรีต เป็นโครงสร้างที่มีส่วนสัมผัสกับความชื้น ในการทดสอบจะต้องนำก้อนตัวอย่างแช่น้ำอย่างน้อย 40 ชั่วโมงก่อนที่จะทำการทดสอบและให้ทดสอบทันทีที่นำก้อนตัวอย่างขึ้นจากน้ำ โดยระหว่างที่อยู่ในกระบวนการทดสอบต้องทำให้ตัวอย่างอยู่ในสภาพชื้น

 


เกณฑ์การประเมินคุณภาพคอนกรีตที่เจาะมาทดสอบ

ตาม ACI 318-99 ระบุว่าโครงสร้างคอนกรีตที่มีกำลังอัดผ่านเกณฑ์ก็ต่อเมื่อ ค่ากำลังอัดจากก้อนตัวอย่างมีค่าดังนี้
    1. กำลังอัดจากการทดสอบก้อน Core 3 ก้อนจะต้องได้ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 85 % ของกำลังอัดรับรอง
    2. ค่ากำลังอัดของก้อนตัวอย่างแต่ละก้อนจะต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 75 % ของกำลังอัดรับรอง
 
 
 
อภินันท์ บัณฑิตนุกูล