รอยต่อ (joint) สำหรับพื้นคอนกรีตมีกี่แบบ แต่ละแบบทำหน้าที่อย่างไร?
ตอบ รอยต่อ ของพื้น ประเภทที่วางบนดิน (Slab on grade) จะต้องมีการทำรอยต่อในการก่อสร้างเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตปริมาตรของคอนกรีตที่เปลี่ยนแปลง มีสาเหตุจาก การหดตัวของคอนกรีต (Drying shrinkage) การเปลี่ยนแปลงปริมาตรจากอุณหภูมิ รูปแบบโดยทั่วไปของ รอยต่อ (Joint) ตามข้อแนะนำของ ACI 302.1 R มี ดังนี้
Contraction joint มีไว้เพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตเกิดการหดตัวแบบแห้ง จากการที่น้ำในคอนกรีตระเหยไปในอากาศ การหดตัวนี้ทำให้เกิดการแตกร้าวของคอนกรีตได้ การทำ Contraction joint เป็นการบังคับให้การแตกร้าว เกิดในตำแหน่งที่กำหนด โดยทั่วไป ควรทำ contraction joint ที่ระยะห่างทุกๆ 24-35 เท่าของความหนาแผ่นพื้น และแบ่งพื้นเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็กๆ โดยให้อัตราส่วน ด้านยาวต่อด้านสั้น ไม่เกิน 1.5:1.0 ถ้าเป็นไปได้ ควรกำหนดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
Isolation joint เป็นรอยต่อที่ทำขึ้น เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตส่วนแนวดิ่ง เช่น เสา ผนัง สามารถเลื่อนตัวอย่างอิสระจาก โครงสร้างคอนกรีตในแนวราบ เช่น พื้น เพื่อไม่ให้เกิดการยึดรั้ง อันเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวของโครงสร้างในระยะยาว